วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

หลงไหลในร่องเสียง ตอน เครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสอง

              ปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่า แผ่นเสียงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง นักเล่นเครื่องเสียงทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ต่างอยากลองลิ้มรสมนต์สเน่ห์แห่งแผ่นดำ  เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีขายในท้องตลาด มีตั้งแต่ราคาหลักพัน ยันหลักล้านให้เลือกซื้อตามกำลังทรัพย์
           
           สำหรับคนที่มีกำลังทรัพย์ การเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงสักเครื่อง คงไม่ใช่ปัญหามากนัก แต่สำหรับมือใหม่ ผู้เริ่มหัดเล่น หรือผู้ที่มีกำลังทรัพย์ไม่มากนัก เครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสองก็น่าสนใจ หากรู้จักเลือกครับ 
           เข้าเรื่องแบบด่วน ๆ กันเลยครับ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสอง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรา หรือเป็นเครื่อง ไฟ 100 โวลท์ที่เป็นมือสองจากญี่ปุ่น เครื่องมือสองในบ้านเราเองที่ใช้ไฟฟ้า 220 โวลท์ 50 Hz สามารถใช้งานได้เลย แต่หากเป็นเครื่องมือสองจากญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้า 100 โวลท์ 60 Hz และเป็นระบบสายพาน ถึงแม้จะต่อกับหม้อแปลงไฟฟ้าลงจาก 200 เป็น 110-100 โวลท์แล้วก็ตาม แต่รอบการทำงานเครื่องจะช้ากว่าปกติ ผมเคนเจอพ่อค้าบางคนแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยการเอาเทปพันสายไฟพันทับพูลเลท์มอเตอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้รอบเร็วขึ้นไกล้เคียงกับปกติ ซึ่งเป็นวิธีที่สุกเอาเผากินมาก ใช้ไปไม่นานเทปที่พันไว้หลุด รอบก็จะเปลี่ยน ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องมืองสอง ควรยกแพลทเตอร์ดูพูลเล่ท์ด้วยว่าเค้ากลึงใหม่ หรือใช้เทปพัน 
          จุดต่อมาที่ควรพิจารณาคือ การหมุนของแพลทเตอร์ ลองใช้มือแตะบนแพลทเตอร์ขณะยังไม่ได้เปิดเครื่อง แล้วดันแพลทเตอร์หมุนไปหลาย ๆ รอบ สังเกตุว่าการหมุนราบลื่นดีหรือไม่ มีอาการสะดุดติดดขัดมั้ย หากหมุนได้ราบรื่นดี ให้เสียบปลั๊กเปิดเครื่อง ให้แพลทเตอร์หมุน แพลทเตอร์ควรหมุนได้ราบเรียบ ไม่กระดก ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึง ไม่มีเสียงรบกวน เอามือแตะแท่นไม่มีอาการสั่นจากมอเตอร์
            ลำดับต่อไปที่ควรพิจารณาคือ แพลทเตอร์ หากเลือกได้ควรเลือกเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีแพลทเตอร์หา หนักเอาไว้ก่อน แพลทเตอร์ที่หนา หนัก จะมีแรงเฉื่อยมากกว่าแพลทเตอร์ที่บาง เบา ทำให้รอบคงที่มากกว่าขณะเล่น อีกทั้ง มีค่า resonance ความถี่ต่าง ๆ ที่จะเข้ามารบกวนที่ปลายเข็มน้อยลงด้วย 

             ส่วนที่สำคัญที่สุดของการเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสอง คือโทนอาร์ม โทนอาร์มจะต้องสามารถเคลื่อนที่ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอนได้อย่างคล่องตัว วิธีการทดสอบง่าย ๆ (ขณะทดสอบควนปิดปลายเข็มไว้ หรือถอดปลายเข็มออกก่อน) ตั้งตุ้มน้ำหนัง (counter weigth) ให้โทนอาร์ม บาล้านซ์ (แขวนลอยอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง) ยกโทนอาร์มขึ้นสุด แล้วปล่อยลง โทนอาร์มควรแขว่งขึ้นลงแบบม้ากระดกได้อย่างนิ่มนวลไม่สะดุด ไม่ค้าง หลังจากนั้น ให้ใช้ปลายนิ้วดันตรงเฮดเชลด์ ให้โทนอาร์มเคลื่อนตัวเข้ากาจุดศูนย์กลางของแพลทเตอร์ โดยดันเบา ๆ โทนอาร์มจะต้องเลื่อนเข้าไปอย่างนิ่มนวล ไม่สะดุด  และให้ดันกลับจากกลางแพลทเตอร์ออกมาที่ขอบแพลทเตอร์ ก็ต้องราบลื่น นิ่มนวลไม่สะดุดเช่นเดียวกัน 
          ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดสอบรอบ ในยุคนี้วิธีการทดสอบรอบง่ายที่สุดคือการใช้ แอป ในโทรศัพท์ครับ แอปที่แนะนำชื่อ RPM ครับ เปิด แอปแล้ววางโทรศัพท์บนแพลทเตอร์ เปิดให้เครื่องหมุน สักพัก รอบเครื่องจะขึ้นมาบนหน้าจอโทรศัพท์ ถ้าตัวเลขอยู่ประมาณ 33.1-33.4 ถือว่าไกล้เคียงยอมรับได้ครับ แต่ถ้ามากน้อยกว่านั้น ต้องปรับแก้ใข
       การเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงเบื้องต้น คงมีเรื่องเล่าให้ฟังกันแค่นี้ก่อนนะครับ ขอให้สนุกกับการเล่นแผ่นเสียงครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น