เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Turntable) ในยุคปุจจุบัน หรือเครื่องเล่นในระดับ ไฮเอนด์ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ แมนวล (Manual) หมายถึงผู้เล่นต้องเปิดเครื่องเอง ยกโทนอาร์มวางลงบนแแผ่นเสียงเอง และยกเก็บเองเมื่อเล่นหมดแผ่น ต่างจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงในยุค 60-90 ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิด อัตโนมัติ (Automatic) ผู้เล่นเพียงแค่วางแผ่น กดปุ่ม เครื่องจะเริ่มหมุน และยกโทนอาร์มไปวางเอง ยกโทนอาร์มเก็บเมื่อเล่นหมดแผ่น
ตัวอย่างเครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิด Full Auto
เคร่ืองเล่นแผ่นเสียงชนิด Full Auto จุดหลัก ๆ ที่มองเห็นได้ชัดคือ มีปุ่ม มีสวิตส์หลายจุดบนตัวเครื่อง เครื่องชนิด Full Auto นี้ สามารถเลือกได้ ว่าใช้แผ่นเสียงขนาด 12 นิ้ว 10 นิ้ว หรือ 7 นิ้ว เลือกความเร็ว (Speed) ได้ว่า 33 1/3 รอบต่อนาที (RPM) หรือ 45 รอบ ต่อนาที หรือบางรุ่นอาจมีถึง 75 รอบต่อนาที มีปุ่มกดยกวางโทนอาร์มอัตโนมัติ (Auto) มีปุ่มยกเลิกการเล่นก่อนหมดแผ่น (Cut) เป็นต้น
เครื่องเล่นแผ่นเสียง ชนิดกึ่งอัตโนมัติ (Semi auto) การทำงานคล้านกับชนิด Full auto เพียงลดทอนกลไก การเลือกเล่นแผ่นเสียงลง เนื่องจาก ในยุคหลัง ๆ มาตรฐานของแผ่นเสียงที่ใช้กันตามบ้านจะเป็นขนาด 12 นิ้วเป็นหลัก เครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิด Semi auto นี้ ผู้เล่นต้องทำการเปิดเครื่อง ยกโทนอาร์มวางลงบนแผ่นเสียงเอง ทำให้สามารถเลือกเพลงที่จะเล่นเป็นเพลงแรกได้ (ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้เล่นที่สามารถสังเกตุแทรค (Track) ของเพลงบนแผ่นเสียงได้) แต่จะยกโทนอาร์มกลับเองเมื่อเล่นจบแผ่น
ตัวอย่างเครื่องเล่นแผ่นเสียงขนิด Semi Auto
เกริ่นกันมาพอสมควรกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบต่าง ๆ แล้วนะครับ มาลองดูส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันบ้าง ในบทความนี้คงจะเน้นที่ส่วนประกอบสำคัญ ๆ ของเครื่องเล่นยุคปัจจุบันเท่านั้นนะครับ
โทนอาร์ม (Tonearm) ที่เราใชกันอยู่ทั่ว ๆ ไป เรียกว่า ไพวอทโทนอาร์ม (pivoted tonearm) คือโทนอาร์มที่เคลื่อตัวตามแนวโค้งจากขอบแผ่นเสียงด้านนกเข้าสู่จุดศูนย์กลางของแผ่นเสียง ส่วนใหญ่จะมีความยาวจากจุดหมุนถึงปลายโทนอาร์มประมาณ 9 นิ้ว และมีรูปทรง อยู่ 3 แบบ คือ
โทนอาร์มแบบตรง (Straight Tonearm)
โทนอาร์มรูปตัว เอส ( S Shaped Tonearm)
โทนอาร์มรูปตัว เจ ( J Shaped Tonearm)
ในส่วนประกอบที่สำคัญของโทนอาร์ม ยังมีส่วนที่ต้องรู้จักอีกนะครับ
รูปที่ 1
2 จุดหมุนโทนอาร์ม (Pivot Center)
3 ก้านโทนอาร์ม (Tonearm)
4 เฮดเชล (Head shell) ใช้ยึดจับหัวเข็ม
5 อาร์มลิฟท์ (Arm lift) ใช้ยกโทนอาร์มขึ้นพักในขณะเล่น หรือช่วยในการวางแผ่นเสียงสำหรับผู้เล่นที่ไม่ชำนาญในการวางโทนอาร์มลงบนแผ่นเอง
รูปที่ 2
1 แอนตี้เสก็ตติ้ง (Anti skating) ใช้ปรับชดเชยแรงเหวี่ยงของโทนอาร์มเข้าสู่ศูนย์กลางขณะแผ่นเสียงหมุน ซึ่งจะทำให้ปลายเข็มเบียดร่องด้านในมากกว่า
2 อาร์มเรส (Arm rest) ที่พักอาร์ม หรือวางอาร์มขณะที่ไม่ได้ใช้งาน
นอกจากโทนอาร์มชนิด Pivoted ที่ใช้กันทั่วไปแล้ว ยังมี โทนอาร์มแบบ ลิเนียร์ แทรคกิ้ง (Linear Tracking) ซึ่งมักพบในเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีราคาแพง โดยมีจุดเด่นในเรื่องของการจับร่องได้ตรงตลอดทั้งรอบนอก และรอบในของแผ่นเสียง ซึ่งหมายถึงไม่จำเป็นต้องมี Anti Skating ด้วย
ส่วนประกอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียง
1 แผ่นรองแผ่นเสียง (Mat) มีหน้าที่รองรับแผ่นเสียง เพื่อกันแผ่นเสียงเสียดสีกับแพลทเตอร์เป็นรอย และลดการลื่นไถลของแผ่นเสียงกับแพลทเตอรื ช่วยซับแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องเล่นเข้ามาแผ่นเสียง ทั่ว ๆ ไป Mat จะมีสามแบบ คือ
Mat ที่เป็นวัสดุเส้นใยคล้ายพรม หรือทำจาก carbon fiber ป้องกันไฟฟ้าสถิต แต่มีข้อเสียคือเก็บฝุ่น
Mat ที่ทำจากยาง พบได้ในเครื่องเล่นแผ่นเสียงทั่ว ๆ ไป อาจมีลวดลายที่ออกแบบ ให้ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนที่จะส่งผ่านจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงไปที่แผ่นเสียง ราคาไม่แพง ทำความสะอาดง่าย
Mat ที่ทำจากไม้คอร์ก หรือ ไม้คอร์กสังเคราะห์ (Cork Mat or Cork rubber Mat) เป็นแผ่นรองที่ทำจากไม้คอร์กที่มีความหนาแน่นคงที่ หรือทำมาจากยางสังเคราะห์อัดเป็นแผ่นแบบไม้คอร์ก มีข้อดีคือ สะสมฝุ่นน้อยกว่าแบบเส้นใยผ้า แต่ซับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า แผ่นเสียงยึดเกาะกับแพลทเตอร์ได้ดีพอ ๆ กับยาง
2 แพลทเตอร์ (Platter) ทำหน้าที่รองรับและหมุนแผ่นเสียงโดยรับแรงหมุนมาจากมอเตอร์ ส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุ ที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ทองเหลือง อลูมิเนียม อัลลอยด์ หรืออะครีลิค แพลทเตอร์ที่ดี จะต้องมีน้ำหนักสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น ส่งผ่านความถี่ย่านต่าง ๆ ได้ไม่ดี ไม่มีอาการก้องค้าง (Ringing)
3 สายพาน (Belt) ทำหน้าที่ส่งแรงหมุนจากมอเตอร์ไปยังแพลทเตอร์ คุณสมบัติของสายพานที่ดี ต้องมีความคงตัว คือยืดหยุ่นได้บ้าง เนื้อยางนิ่มเพื่อลดการสั่นสะเทือนจากมอเตอร์ไปยังแพลทเตอร์ มีทั้งแบบเส้นกลม และเส้นแบน
สายพานแบบเส้นกลม
สายพานแบบเส้นแบน
4 พูลเล่ท์ (Pulley) ทำหน้าที่ส่งกำลังจากมอเตอร์และทดรอบการหมุนให้พอดีตามที่ต้องการ โดยทั่งไป ขนาด พูลเล่ท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้แพลทเตอร์หมุนเร็วขึ้นด้วย เครื่องเล่นแผ่นเสียงส่วนใหญ่พูลเล่ท์จะมี สองขนาดในตัวเดียวกัน (2 ชั้น) คือชั้นที่มีขนาดเล็กสำหรับรอบ 33 1/3 RPM และ ชั้นที่มีขนาดใหญ่สำหรับ รอบ 45 RPM
5 สปินเดิล (Spindle) เป็นจุดหมุนของแพลทเตอร์ และยังเป็นแกนสวมรูเพื่อยึดแผ่นเสียงให้อยู่กับที่
คงจะพอเข้าใจส่วนประกอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันแล้วนะครับ บทความต่อไปคงจะเป็นการ Setup เครื่องเล่นแผ่นเสียงเบื้องต้นครับ
มีประโยชน์มากครับ รายละเอียดครบ ขอบคุณครับพี่Mc
ตอบลบ