วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

หลงไหลในร่องเสียง ตอน มีอะไรในเครื่องเล่นแผ่นเสียง

          บทความตอนนี้เขียนเพื่อให้รู้จักส่วนต่าง ๆ ของเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันนะครับ เนื้อหาจะพยายามใส่ภาษาอังกฤษแนบไว้ด้วยเผื่อเอาไว้ค้นคว้าเพิ่มเติมจากเว็บต่างประเทศ ซึ่งมีรายละเอียด และข้อมูลมากกว่า

         เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Turntable) ในยุคปุจจุบัน หรือเครื่องเล่นในระดับ ไฮเอนด์ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบ แมนวล (Manual) หมายถึงผู้เล่นต้องเปิดเครื่องเอง ยกโทนอาร์มวางลงบนแแผ่นเสียงเอง และยกเก็บเองเมื่อเล่นหมดแผ่น ต่างจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงในยุค 60-90 ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิด อัตโนมัติ (Automatic) ผู้เล่นเพียงแค่วางแผ่น กดปุ่ม เครื่องจะเริ่มหมุน และยกโทนอาร์มไปวางเอง ยกโทนอาร์มเก็บเมื่อเล่นหมดแผ่น 




ตัวอย่างเครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิด Full Auto 

       เคร่ืองเล่นแผ่นเสียงชนิด Full Auto จุดหลัก ๆ ที่มองเห็นได้ชัดคือ มีปุ่ม มีสวิตส์หลายจุดบนตัวเครื่อง  เครื่องชนิด Full Auto นี้ สามารถเลือกได้ ว่าใช้แผ่นเสียงขนาด 12 นิ้ว 10 นิ้ว หรือ 7 นิ้ว เลือกความเร็ว (Speed) ได้ว่า 33 1/3 รอบต่อนาที (RPM) หรือ 45 รอบ ต่อนาที หรือบางรุ่นอาจมีถึง 75 รอบต่อนาที มีปุ่มกดยกวางโทนอาร์มอัตโนมัติ (Auto) มีปุ่มยกเลิกการเล่นก่อนหมดแผ่น (Cut) เป็นต้น 

        เครื่องเล่นแผ่นเสียง ชนิดกึ่งอัตโนมัติ (Semi auto) การทำงานคล้านกับชนิด Full auto เพียงลดทอนกลไก การเลือกเล่นแผ่นเสียงลง เนื่องจาก ในยุคหลัง ๆ มาตรฐานของแผ่นเสียงที่ใช้กันตามบ้านจะเป็นขนาด 12 นิ้วเป็นหลัก เครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิด Semi auto นี้ ผู้เล่นต้องทำการเปิดเครื่อง ยกโทนอาร์มวางลงบนแผ่นเสียงเอง ทำให้สามารถเลือกเพลงที่จะเล่นเป็นเพลงแรกได้ (ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้เล่นที่สามารถสังเกตุแทรค (Track) ของเพลงบนแผ่นเสียงได้) แต่จะยกโทนอาร์มกลับเองเมื่อเล่นจบแผ่น


ตัวอย่างเครื่องเล่นแผ่นเสียงขนิด Semi Auto 


             เกริ่นกันมาพอสมควรกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบต่าง ๆ แล้วนะครับ มาลองดูส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันบ้าง ในบทความนี้คงจะเน้นที่ส่วนประกอบสำคัญ ๆ ของเครื่องเล่นยุคปัจจุบันเท่านั้นนะครับ 
            โทนอาร์ม (Tonearm) ที่เราใชกันอยู่ทั่ว ๆ ไป เรียกว่า ไพวอทโทนอาร์ม (pivoted tonearm) คือโทนอาร์มที่เคลื่อตัวตามแนวโค้งจากขอบแผ่นเสียงด้านนกเข้าสู่จุดศูนย์กลางของแผ่นเสียง ส่วนใหญ่จะมีความยาวจากจุดหมุนถึงปลายโทนอาร์มประมาณ 9 นิ้ว และมีรูปทรง อยู่ 3 แบบ คือ 
           โทนอาร์มแบบตรง (Straight Tonearm)
           

           โทนอาร์มรูปตัว เอส ( S Shaped Tonearm) 


           โทนอาร์มรูปตัว เจ ( J Shaped Tonearm)



           ในส่วนประกอบที่สำคัญของโทนอาร์ม ยังมีส่วนที่ต้องรู้จักอีกนะครับ 
           
รูปที่  1


1 ตุ้มปรับน้ำหนัก (counterweight tonearm) ใช้ปรับความสมดุลและแรงกดของปลายเข็ม
2 จุดหมุนโทนอาร์ม (Pivot Center) 
3 ก้านโทนอาร์ม (Tonearm)
4 เฮดเชล (Head shell) ใช้ยึดจับหัวเข็ม
5 อาร์มลิฟท์ (Arm lift) ใช้ยกโทนอาร์มขึ้นพักในขณะเล่น หรือช่วยในการวางแผ่นเสียงสำหรับผู้เล่นที่ไม่ชำนาญในการวางโทนอาร์มลงบนแผ่นเอง

รูปที่ 2 
1 แอนตี้เสก็ตติ้ง (Anti skating) ใช้ปรับชดเชยแรงเหวี่ยงของโทนอาร์มเข้าสู่ศูนย์กลางขณะแผ่นเสียงหมุน ซึ่งจะทำให้ปลายเข็มเบียดร่องด้านในมากกว่า 
2 อาร์มเรส (Arm rest) ที่พักอาร์ม หรือวางอาร์มขณะที่ไม่ได้ใช้งาน

นอกจากโทนอาร์มชนิด Pivoted ที่ใช้กันทั่วไปแล้ว ยังมี โทนอาร์มแบบ ลิเนียร์ แทรคกิ้ง (Linear Tracking) ซึ่งมักพบในเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีราคาแพง โดยมีจุดเด่นในเรื่องของการจับร่องได้ตรงตลอดทั้งรอบนอก และรอบในของแผ่นเสียง ซึ่งหมายถึงไม่จำเป็นต้องมี Anti Skating ด้วย 



ส่วนประกอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียง



1 แผ่นรองแผ่นเสียง (Mat)  มีหน้าที่รองรับแผ่นเสียง เพื่อกันแผ่นเสียงเสียดสีกับแพลทเตอร์เป็นรอย และลดการลื่นไถลของแผ่นเสียงกับแพลทเตอรื ช่วยซับแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องเล่นเข้ามาแผ่นเสียง ทั่ว ๆ ไป Mat จะมีสามแบบ คือ 
 Mat ที่เป็นวัสดุเส้นใยคล้ายพรม หรือทำจาก carbon fiber ป้องกันไฟฟ้าสถิต แต่มีข้อเสียคือเก็บฝุ่น


Mat ที่ทำจากยาง พบได้ในเครื่องเล่นแผ่นเสียงทั่ว ๆ ไป อาจมีลวดลายที่ออกแบบ ให้ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนที่จะส่งผ่านจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงไปที่แผ่นเสียง ราคาไม่แพง ทำความสะอาดง่าย 

Mat ที่ทำจากไม้คอร์ก หรือ ไม้คอร์กสังเคราะห์ (Cork Mat or Cork rubber Mat)  เป็นแผ่นรองที่ทำจากไม้คอร์กที่มีความหนาแน่นคงที่ หรือทำมาจากยางสังเคราะห์อัดเป็นแผ่นแบบไม้คอร์ก มีข้อดีคือ สะสมฝุ่นน้อยกว่าแบบเส้นใยผ้า แต่ซับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า แผ่นเสียงยึดเกาะกับแพลทเตอร์ได้ดีพอ ๆ กับยาง 



2 แพลทเตอร์ (Platter) ทำหน้าที่รองรับและหมุนแผ่นเสียงโดยรับแรงหมุนมาจากมอเตอร์ ส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุ ที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ทองเหลือง อลูมิเนียม อัลลอยด์ หรืออะครีลิค แพลทเตอร์ที่ดี จะต้องมีน้ำหนักสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น ส่งผ่านความถี่ย่านต่าง ๆ ได้ไม่ดี ไม่มีอาการก้องค้าง (Ringing) 

 3 สายพาน (Belt) ทำหน้าที่ส่งแรงหมุนจากมอเตอร์ไปยังแพลทเตอร์ คุณสมบัติของสายพานที่ดี ต้องมีความคงตัว คือยืดหยุ่นได้บ้าง เนื้อยางนิ่มเพื่อลดการสั่นสะเทือนจากมอเตอร์ไปยังแพลทเตอร์ มีทั้งแบบเส้นกลม และเส้นแบน 


สายพานแบบเส้นกลม 

สายพานแบบเส้นแบน


4 พูลเล่ท์ (Pulley) ทำหน้าที่ส่งกำลังจากมอเตอร์และทดรอบการหมุนให้พอดีตามที่ต้องการ โดยทั่งไป ขนาด พูลเล่ท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้แพลทเตอร์หมุนเร็วขึ้นด้วย เครื่องเล่นแผ่นเสียงส่วนใหญ่พูลเล่ท์จะมี สองขนาดในตัวเดียวกัน (2 ชั้น) คือชั้นที่มีขนาดเล็กสำหรับรอบ 33 1/3 RPM และ ชั้นที่มีขนาดใหญ่สำหรับ รอบ 45 RPM



5 สปินเดิล (Spindle) เป็นจุดหมุนของแพลทเตอร์ และยังเป็นแกนสวมรูเพื่อยึดแผ่นเสียงให้อยู่กับที่ 

คงจะพอเข้าใจส่วนประกอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันแล้วนะครับ บทความต่อไปคงจะเป็นการ Setup เครื่องเล่นแผ่นเสียงเบื้องต้นครับ 


วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

หลงไหลในร่องเสียง ตอน ระบบขับเคลื่อนของเครื่องเล่นแผ่นเสียง

ระบบขับเคลื่อนของแผ่นเสียงในบทความนี้จะคุยกันในเรื่องระบบการขับแพลทเตอร์นะครับ จุดมุ่งหมายของการขับเคลื่อนคือทำให้แพลทเตอร์หมุนได้ราบเรียบ นุ่มนวล และมีความเร็วคงที่มากที่สุด 
          ต้นกำลังของระบบขับเคลื่อนหลัก ๆ หนีไม่พ้นต้องเป็นมอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ AC หรือ มอเตอร์ DC เมื่อมอเตอร์หมุนก็จะส่งกำลังผ่านไปให้แพลทเตอร์หมุนตาม ซึ่งปัจจุบัน ระบบส่งกำลังจากมอเตอร์สู่แพลทเตอร์จะมีวิธีหลัก ๆ 3 วิธี ดังนี้
           1. ส่งกำลังผ่านลูกยาง (idler wheel) มักพบในเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นเก่า หลักการทำงานคืออยู่ตรงกลางระหว่างพูลเล่ท์มอเตอร์ และขอบด้านในของแพลทเตอร์ ซึ่งสามารถปรับความเร็วรอยด้วยการเปลี่ยนขนาดพูลเล่ท์มอเตอร์ พูลเล่ท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รอบจะเร็วขึ้น ในทางกลับกัน รอบจะช้าลง เมื่อพูลเล่ท์มีขนาดเล็กลง


ตำแหน่งที่ลูกยาง idler สัมผัสกับพูลเล่ท์



             ข้อดีของการใช้ระบบส่งกำลังด้วยลูกยาง  idler คือสามารถขับให้แพลทเตอร์หนัก ๆ หมุนได้มั่นคงมาก แต่ข้อเสียก็มีมาก เช่น เมื่ใช้งานไปนาน ๆ ทำให้แกนมอร์เตอร์สึกจากแรงเบียด หากลูกยาง idler เริ่มเสื่อมสถาพ แข็ง จะทำให้ลื่น ส่งกำลังได้ไม่เต็มที่ รอบก็จะช้าลง และในที่สุด ลูกยาง idler อาจจะเปื่อยยุ่ยแตกจนส่งกำลังไม่ได้เลย ซึ่งปัจจุบันหาอะไหล่ทดแทนได้ยากวิธีการแก้ใขแบบง่าย ๆ และสามารถใช้งานได้ทนทานในระยะยาวคือ ถอดแกนลูกยาง idler อันเก่าไปจ้างร้านกลึง ด้วยทองเหลือง หรือเสตนเลส ให้ทีขนาดไกล้เคียงกับลูกยางอันเดิม และเซาะร่องรอบ ๆ เพื่อไส่โอริง ตามภาพด้านล่าง เมื่อยางโอรองสึก หมดอายุ ก็แค่เปบี่ยนโอริงซึงหาได้ง่ายกว่าหาซื้อลูกยาง idler มาก 


          2 ส่งกำลังผ่านสายพาน เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด ทั้งในเครื่องเล่นแผ่นเสียงราคาถูก ถึงเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับ Hi end ราคาหลักแสน หลักล้าน ด้วยแนวความคิดที่ว่า เราสามารถ แยกมอเตอร์ซึ่งมีการสั่นสะเทือนให้แยกตัวออกจาก แท่นเครื่อง และแพลทเตอร์ ด้วยความนิ่มของสายพาน แรงสั่นสะเทือนของมอเตอร์จึงส่งผ่านมาที่แพลทเตอร์ได้น้อยมาก เมื่อสายพานมีความตึงไม่มากเกินไป แต่จุดด้อย ก็มีอยู่ตรงที่หากสายพานหย่อน ล้า จะทำให้ส่งกำลังได้น้อยลง รอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะตกลงด้วย ดังนั้นเครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิดที่ใช้สายพาน ควรจะต้องทีการเช็คสายพานเป็นระยะ ๆ โดยการเช็คว่ารอบของเครื่องยังทำงานด้วยความเร็วปกติอยู่หรือไม่ 

ลักษณะการใช้สายพานขับเคลื่อนในเครื่องเล่นแผ่นเสียงทั่ว ๆ ไป ชนิดที่มี sub platter 


การใช้สายพานขับตรงกับแพลทเตอร์นิยมใช้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นใหม่  ๆ 


ในเครื่องที่มีราคาแพง มักทำมอเตอร์แยกจากตัวเครื่องเพื่อลดการสั่นสะเทือนของมอเตอร์ที่จะส่งผ่านไปรบกวนหัวเข็ม 




             3 ส่งกำลังตรงจากมอเตอร์ (Direct Drive) เป็นอีกแบบหนึ่งของการส่งกำลังโดยออกแบบให้มอเตอร์อยู่ที่จุดศูนย์กลางของแพลทเตอร์ โดยมอเตอร์ที่ใช้จะเป็นมอเตอร์ชนิด DC Servo ที่คววมคุมความเร็วรอบให้คงที่ด้วยความถี่สังเคราะห์  ซึ่งมีจุดเด่นคือ รอบจะคงที่ไม่ว่าแรงดันไฟฟ้าจะไม่คงที่ หรือรูปคลื่นไฟฟ้าจะถูกรบกวน วงจรจะทำการชดเชยรอบให้เร็วขึ้น ช้าลง จนอยู่ในระดับที่ถูกต้องเสมอ บางรุ่น อาจมีปุ่มปรับชดเชยด้วยมืออีกด้วย ข้อดีอีกอย่างของเครื่องเล่นชนิดนี้คือ หากใช้เครื่องเล่นมือสองของต่างประเทศที่มีแรงดีน และความถี่ไม่เท่ากับในแระเทศไทย เพียงแค่ใช้หม้อแปลง แปลงแรงดัน ให้เท่ากับที่เครื่องต้องการเท่านั้น ส่วนความเร็วรอบเครื่องจะปรับความเร็วให้เองโดยที่ไม่ต้องปรับแต่งอะไรเลย แต่ข้อเสีย ก็มักจะถูกวิจารณ์ในเรื่องของความคงที่ของรอบ ซึ่งระบบไดเรคไดรฟ์ที่พยายยามจะรักษารอบให้คงที่เอง ทำให้เกิดการขยับขึ้นลงของรอบอยู่ตลอดเวลา (แน่นอนว่าคนฟังทั่วไปฟังไม่ออก) 


มอเตอร์ไดเรคไดรฟ์ ซึ่งอยู่ใต้แพลทเตอร์



เครื่องเล่นเสียงรุ่นยอดนิยมซึ่งใช้ในงาน DJ มักใช้ระบบ Direct Drive เนื่องจากสามารถปรับความเร็วให้เร็ว ช้า ได้ เดินหน้า ถอยหลังได้ 




หลงไหลในร่องเสียง ตอน เครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสอง

              ปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่า แผ่นเสียงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง นักเล่นเครื่องเสียงทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ต่างอยากลองลิ้มรสมนต์สเน่ห์แห่งแผ่นดำ  เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีขายในท้องตลาด มีตั้งแต่ราคาหลักพัน ยันหลักล้านให้เลือกซื้อตามกำลังทรัพย์
           
           สำหรับคนที่มีกำลังทรัพย์ การเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงสักเครื่อง คงไม่ใช่ปัญหามากนัก แต่สำหรับมือใหม่ ผู้เริ่มหัดเล่น หรือผู้ที่มีกำลังทรัพย์ไม่มากนัก เครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสองก็น่าสนใจ หากรู้จักเลือกครับ 
           เข้าเรื่องแบบด่วน ๆ กันเลยครับ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสอง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรา หรือเป็นเครื่อง ไฟ 100 โวลท์ที่เป็นมือสองจากญี่ปุ่น เครื่องมือสองในบ้านเราเองที่ใช้ไฟฟ้า 220 โวลท์ 50 Hz สามารถใช้งานได้เลย แต่หากเป็นเครื่องมือสองจากญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้า 100 โวลท์ 60 Hz และเป็นระบบสายพาน ถึงแม้จะต่อกับหม้อแปลงไฟฟ้าลงจาก 200 เป็น 110-100 โวลท์แล้วก็ตาม แต่รอบการทำงานเครื่องจะช้ากว่าปกติ ผมเคนเจอพ่อค้าบางคนแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยการเอาเทปพันสายไฟพันทับพูลเลท์มอเตอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้รอบเร็วขึ้นไกล้เคียงกับปกติ ซึ่งเป็นวิธีที่สุกเอาเผากินมาก ใช้ไปไม่นานเทปที่พันไว้หลุด รอบก็จะเปลี่ยน ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องมืองสอง ควรยกแพลทเตอร์ดูพูลเล่ท์ด้วยว่าเค้ากลึงใหม่ หรือใช้เทปพัน 
          จุดต่อมาที่ควรพิจารณาคือ การหมุนของแพลทเตอร์ ลองใช้มือแตะบนแพลทเตอร์ขณะยังไม่ได้เปิดเครื่อง แล้วดันแพลทเตอร์หมุนไปหลาย ๆ รอบ สังเกตุว่าการหมุนราบลื่นดีหรือไม่ มีอาการสะดุดติดดขัดมั้ย หากหมุนได้ราบรื่นดี ให้เสียบปลั๊กเปิดเครื่อง ให้แพลทเตอร์หมุน แพลทเตอร์ควรหมุนได้ราบเรียบ ไม่กระดก ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึง ไม่มีเสียงรบกวน เอามือแตะแท่นไม่มีอาการสั่นจากมอเตอร์
            ลำดับต่อไปที่ควรพิจารณาคือ แพลทเตอร์ หากเลือกได้ควรเลือกเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีแพลทเตอร์หา หนักเอาไว้ก่อน แพลทเตอร์ที่หนา หนัก จะมีแรงเฉื่อยมากกว่าแพลทเตอร์ที่บาง เบา ทำให้รอบคงที่มากกว่าขณะเล่น อีกทั้ง มีค่า resonance ความถี่ต่าง ๆ ที่จะเข้ามารบกวนที่ปลายเข็มน้อยลงด้วย 

             ส่วนที่สำคัญที่สุดของการเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงมือสอง คือโทนอาร์ม โทนอาร์มจะต้องสามารถเคลื่อนที่ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอนได้อย่างคล่องตัว วิธีการทดสอบง่าย ๆ (ขณะทดสอบควนปิดปลายเข็มไว้ หรือถอดปลายเข็มออกก่อน) ตั้งตุ้มน้ำหนัง (counter weigth) ให้โทนอาร์ม บาล้านซ์ (แขวนลอยอยู่ในตำแหน่งตรงกลาง) ยกโทนอาร์มขึ้นสุด แล้วปล่อยลง โทนอาร์มควรแขว่งขึ้นลงแบบม้ากระดกได้อย่างนิ่มนวลไม่สะดุด ไม่ค้าง หลังจากนั้น ให้ใช้ปลายนิ้วดันตรงเฮดเชลด์ ให้โทนอาร์มเคลื่อนตัวเข้ากาจุดศูนย์กลางของแพลทเตอร์ โดยดันเบา ๆ โทนอาร์มจะต้องเลื่อนเข้าไปอย่างนิ่มนวล ไม่สะดุด  และให้ดันกลับจากกลางแพลทเตอร์ออกมาที่ขอบแพลทเตอร์ ก็ต้องราบลื่น นิ่มนวลไม่สะดุดเช่นเดียวกัน 
          ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดสอบรอบ ในยุคนี้วิธีการทดสอบรอบง่ายที่สุดคือการใช้ แอป ในโทรศัพท์ครับ แอปที่แนะนำชื่อ RPM ครับ เปิด แอปแล้ววางโทรศัพท์บนแพลทเตอร์ เปิดให้เครื่องหมุน สักพัก รอบเครื่องจะขึ้นมาบนหน้าจอโทรศัพท์ ถ้าตัวเลขอยู่ประมาณ 33.1-33.4 ถือว่าไกล้เคียงยอมรับได้ครับ แต่ถ้ามากน้อยกว่านั้น ต้องปรับแก้ใข
       การเลือกซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงเบื้องต้น คงมีเรื่องเล่าให้ฟังกันแค่นี้ก่อนนะครับ ขอให้สนุกกับการเล่นแผ่นเสียงครับ 

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พุชพูลแอมป์ตัวแรกที่ผมประทับใจ

          สืบเนื่องจากการพบปะสังสรรค์ในกลุ่ม DIY ภาคตะวันออก ที่จันทบุรี มีเพื่อนคนนึง พวกเราตั้งฉายาว่าลุง เอดิสาน (มาจาก โทมัส อัลวา เอดิสัน) เนื่องจาก ลุงสาน หรือเอดิสาน เป็นนักค้นคว้าทดลองตัวยง เอาแอมป์หลอดตัวเล็ก ๆ มา 1 เครื่อง ผมเองไม่เคยประทับใจแอมป์หลอดพุชพูลเลย ไม่ว่าเครื่อง DIY หรือ COMERCIAL แต่แอมป์เครื่องนี้กลับทำให้ผมประทับใจในน้ำเสียงของมันซะงั้น
         ฟังกันเสร็จ ถึงกับต้องลงมือชำแหละกันว่าทำไมถึงเสียงดี ความลับของการทำแอมป์พุชพูลอยู่ที่ ทำอย่างไรให้ คลื่นเสียงในเฟสบวก และเฟส ลบ มีรอยต่อที่ Smooth มากที่สุด วงจรพุชพูลโดยทั่วไปมักใช้หลอดในการกลับเฟสในภาคไดรฟ์ ซึ่งปรับจูนยาก และไม่ Stable ทำให้เสียงที่ออกมามีความเพี้ยนมาก
           ลุงเอดิสานเล่าว่า วงจรตันฉบับที่ทำ เป็นของ Electreprint ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตหม้อแปลงเสียง คุณภาพเป็นที่ยอมรับในวงการ DIY ทั่วโลก ลุงเอดิสานลงทุนซื้อหม้อกลับเฟสราคาครึ่งหมื่นมาลง งานนี้ทำให้เกิดไอเดียที่ว่า ถ้าเราหาวัสดุที่มีคุณภาพไกล้เคียงกันมาทำหม้อกลับเฟสเอง เสียงจะเป็นอย่างไร
            พี่น้องผองเพื่อเลยช่วยกันหาวัสดุ อุปกรณ์ส่งมาให้ผมเป็นหนูลองยา ปรับแต่งวงจรจากต้นฉบับนิดหน่อย ทำเสร็จ ทดสอบ เสียงมันใช้ได้ครับ เป็นรองแค่เสียงร้อง นักร้องสาว ๆ จากเครื่อง 845 SE ที่ประจำการไม่มากนัก  คุ้มจริง ๆ ครับ



วงจรที่ทำครับ

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

หลงไหล Analog และร่องเสียงไวนีล

     ห่างหายไปนานกับการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากภาระงานประจำ หลังจากที่งานเริ่มเข้าที่ เข้าทางคงต้องกลับมาแบ่งปันประสบการณ์ให้กับเพื่อน ๆ เพิ่มเติมต่อไปครับ
ถึงแม้จะห่างหายไปจากบล๊อค แต่เสียงเพลงก็ยังไม่ห่างหาย ที่ผ่านมา อาจไม่เคยพูดถึงแผ่นเสียง แต่จุดเริ่มต้นในการฟังเพลงของผม เริ่มมาจากแผ่นเสียงครับ ไม่ใช่เทป ไม่ใช่
CD และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 20 กว่าปีที่เล่นเครื่องเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียงก็ประจำอยู่ในชุดเครื่องเสียงมาโดยตลอด อาจมีห่าง ๆ ไปบ้างก็ในช่วงที่เครื่องเล่นซีดีออกมา
ใหม่ ๆ ทำให้เห่อเทคโนโลยีไปพักใหญ่ จนปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า ผมฟัง และชอบฟังเสียงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงมากที่สุด
     เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ผมใช้ เริ่มจากเครื่องเล่นราคาถูก ๆ หลากหลายยี่ห้อ และก็เปลี่ยนมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันผมใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ออกแบบและทำเองเกือบทั้งหมด
หลังจากนี้คงจะค่อย ๆ ลงข้อมูลแนะนำการออกแบบ แนวความคิด และการสร้างเครื่องเล่นแผ่นเสียงเองให้ดูกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Mini music Server

    ผมมีแหล่ง (Sourge) สำหรับเล่นเสียงเพลง อยู่ 3 แบบ คือ แผ่นเสียง ซีดี และ คอมพิวเตอร์ Music Server ที่ฟังบ่อยมาก น่าจะเป็นแผ่นเสียง เพราะ ส่วนใหญ่แผ่นที่มีจะเป็นแผ่นเพลงเก่า ๆ ที่เก็บมาตั้งแต่ตอนเรียน ม.ปลาย - มหาวิทยาลัย การที่ได้หยิบแผ่นเพลงเก่า ๆ มาฟัง ก็เป็นความสุขไปอีกแบบ
    เครื่องเล่น ซีดีทรานสปอท + DAC เอาไว้ฟังเพลง หรือทดสอบเครื่องแบบจริง ๆ จัง ๆ มากกว่า การฟังในชีวิตประจำวัน เพราะชอบฟังเพลงแบบสบาย ๆ อ่านหนังสือ หรือทำงานอดิเรกไปด้วยมากกว่า
   ส่วน Computer Music Server เป็นแหล่งข้อมูล ที่ดีในแง่ของการเล่นจริง ๆ เพราะเก็บเพลงไว้ได้มหาศาล เลือกเพลงมาขึ้นคิวรอไปได้เรื่อย ๆ ตามอารมณ์ เสียอย่างเดียว .. เปิดปิดช้าไปหน่อย และ ต้อง Setup กันพอควร จึงจะให้เสียงได้ดี
    ดูจากเครื่องเสียงรุ่นใหม่ ๆ หลาย รุ่น เห็นมีช่องเสียบ Ipod มาให้ด้วย เลยต้องมาศึกษา ต่อไปว่า Ipod เสียงจะดีแค่ไหน เรื่อง ไฟล์เพลง ไม่น่าห่วง เพราะเป็น wave file ที่น่าทดสอบคือเอ้าท์พุท ipod ที่ลองเล่น แล้วเสียงถูกใจ จะเป็นตัว Gen 5 รุ่น VDO 80 Gb DAC เป็น Wolfson ความจุขนาดนี้ เห็นเพลงได้ไม่น้อยกว่า 2000 เพลง ต่อจาก Dock ตรง ๆ เข้าแอมป์ ได้เสียงดีทีเดียวครับ .. วันหลังจะเล่าการทำวาย Dock ดี ๆ ให้ฟังกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานมีทติ้งกลางปี บ้านบนเนิน

       ห่างหายไปนานพอสมควรครับ ทั้งเรื่อง DIY และเรื่องงานมีทติ้งที่จัดประจำ เนื่องด้วยหลาย ๆ ปัจจัย ช่วงนี้ งานสร่างซา จึงจัดงานมีทติ้งรวมพลกันอีกครั้ง
       เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ถือฤกษ์สะดวกก่อนวันแม่ เปิดบ้านบนเนินต้อนรับเพื่อน ๆ ราว 30 คน หอบผลงานมา โชว์ มาทดสอบ แลกเปลี่ยนความรู้กัน งานนี้ ต้องขอบคุณคุณ อาณัต เจ้าจองบริษัท อาณาตรอน ที่อุตส่าห์หอบหิ้วเครื่องมือชุดใหญ่มาทดสอบแอมป์ให้เพื่อน ๆ

    
       แอมป์ ที่ผมใช้เป็นชุดประจำ คือ SE845 ก็ได้รับการทดสอบด้วยเช่นกัน และได้ผลลัพท์ที่คาดไม่ถึง คือ การตอบสนองความถี่ ค่อนข้างดี โดยเฉพาะย่านกลาง - สูง ย่านต่ำโรลออฟไปบ้าง (ซึ่งอยู่ในแผนที่จะปรับปรุงอยู่แล้ว รออุปกรณ์มาเท่านั้น) เฟสของเสียงดีมาก ค่า THD (total hamonic distorsion) ต่ำมาก เฉลี่ยไม่เกิน 2%  เมื่อทดสอบกันเสร็จ เลยต้องนั่งฟังกันจนได้เวลาแยกย้ายกลับบ้าน
       กว่าจะแยกย้ายกันกลับก็เกือบ 5 โมงเย็น หอบหิ้วการบ้าน (ผลงาน) กลับไปแก้ใขปรับปรุงกันต่อ ..ครั้งหน้า หากไม่มีอุปสรรคอะไรอีก เจอกันเดือนมีนาคม เช่นเคยครับ