วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

หลงไหลในร่องเสียง ตอน ระบบขับเคลื่อนของเครื่องเล่นแผ่นเสียง

ระบบขับเคลื่อนของแผ่นเสียงในบทความนี้จะคุยกันในเรื่องระบบการขับแพลทเตอร์นะครับ จุดมุ่งหมายของการขับเคลื่อนคือทำให้แพลทเตอร์หมุนได้ราบเรียบ นุ่มนวล และมีความเร็วคงที่มากที่สุด 
          ต้นกำลังของระบบขับเคลื่อนหลัก ๆ หนีไม่พ้นต้องเป็นมอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ AC หรือ มอเตอร์ DC เมื่อมอเตอร์หมุนก็จะส่งกำลังผ่านไปให้แพลทเตอร์หมุนตาม ซึ่งปัจจุบัน ระบบส่งกำลังจากมอเตอร์สู่แพลทเตอร์จะมีวิธีหลัก ๆ 3 วิธี ดังนี้
           1. ส่งกำลังผ่านลูกยาง (idler wheel) มักพบในเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นเก่า หลักการทำงานคืออยู่ตรงกลางระหว่างพูลเล่ท์มอเตอร์ และขอบด้านในของแพลทเตอร์ ซึ่งสามารถปรับความเร็วรอยด้วยการเปลี่ยนขนาดพูลเล่ท์มอเตอร์ พูลเล่ท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รอบจะเร็วขึ้น ในทางกลับกัน รอบจะช้าลง เมื่อพูลเล่ท์มีขนาดเล็กลง


ตำแหน่งที่ลูกยาง idler สัมผัสกับพูลเล่ท์



             ข้อดีของการใช้ระบบส่งกำลังด้วยลูกยาง  idler คือสามารถขับให้แพลทเตอร์หนัก ๆ หมุนได้มั่นคงมาก แต่ข้อเสียก็มีมาก เช่น เมื่ใช้งานไปนาน ๆ ทำให้แกนมอร์เตอร์สึกจากแรงเบียด หากลูกยาง idler เริ่มเสื่อมสถาพ แข็ง จะทำให้ลื่น ส่งกำลังได้ไม่เต็มที่ รอบก็จะช้าลง และในที่สุด ลูกยาง idler อาจจะเปื่อยยุ่ยแตกจนส่งกำลังไม่ได้เลย ซึ่งปัจจุบันหาอะไหล่ทดแทนได้ยากวิธีการแก้ใขแบบง่าย ๆ และสามารถใช้งานได้ทนทานในระยะยาวคือ ถอดแกนลูกยาง idler อันเก่าไปจ้างร้านกลึง ด้วยทองเหลือง หรือเสตนเลส ให้ทีขนาดไกล้เคียงกับลูกยางอันเดิม และเซาะร่องรอบ ๆ เพื่อไส่โอริง ตามภาพด้านล่าง เมื่อยางโอรองสึก หมดอายุ ก็แค่เปบี่ยนโอริงซึงหาได้ง่ายกว่าหาซื้อลูกยาง idler มาก 


          2 ส่งกำลังผ่านสายพาน เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด ทั้งในเครื่องเล่นแผ่นเสียงราคาถูก ถึงเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับ Hi end ราคาหลักแสน หลักล้าน ด้วยแนวความคิดที่ว่า เราสามารถ แยกมอเตอร์ซึ่งมีการสั่นสะเทือนให้แยกตัวออกจาก แท่นเครื่อง และแพลทเตอร์ ด้วยความนิ่มของสายพาน แรงสั่นสะเทือนของมอเตอร์จึงส่งผ่านมาที่แพลทเตอร์ได้น้อยมาก เมื่อสายพานมีความตึงไม่มากเกินไป แต่จุดด้อย ก็มีอยู่ตรงที่หากสายพานหย่อน ล้า จะทำให้ส่งกำลังได้น้อยลง รอบของเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะตกลงด้วย ดังนั้นเครื่องเล่นแผ่นเสียงชนิดที่ใช้สายพาน ควรจะต้องทีการเช็คสายพานเป็นระยะ ๆ โดยการเช็คว่ารอบของเครื่องยังทำงานด้วยความเร็วปกติอยู่หรือไม่ 

ลักษณะการใช้สายพานขับเคลื่อนในเครื่องเล่นแผ่นเสียงทั่ว ๆ ไป ชนิดที่มี sub platter 


การใช้สายพานขับตรงกับแพลทเตอร์นิยมใช้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นใหม่  ๆ 


ในเครื่องที่มีราคาแพง มักทำมอเตอร์แยกจากตัวเครื่องเพื่อลดการสั่นสะเทือนของมอเตอร์ที่จะส่งผ่านไปรบกวนหัวเข็ม 




             3 ส่งกำลังตรงจากมอเตอร์ (Direct Drive) เป็นอีกแบบหนึ่งของการส่งกำลังโดยออกแบบให้มอเตอร์อยู่ที่จุดศูนย์กลางของแพลทเตอร์ โดยมอเตอร์ที่ใช้จะเป็นมอเตอร์ชนิด DC Servo ที่คววมคุมความเร็วรอบให้คงที่ด้วยความถี่สังเคราะห์  ซึ่งมีจุดเด่นคือ รอบจะคงที่ไม่ว่าแรงดันไฟฟ้าจะไม่คงที่ หรือรูปคลื่นไฟฟ้าจะถูกรบกวน วงจรจะทำการชดเชยรอบให้เร็วขึ้น ช้าลง จนอยู่ในระดับที่ถูกต้องเสมอ บางรุ่น อาจมีปุ่มปรับชดเชยด้วยมืออีกด้วย ข้อดีอีกอย่างของเครื่องเล่นชนิดนี้คือ หากใช้เครื่องเล่นมือสองของต่างประเทศที่มีแรงดีน และความถี่ไม่เท่ากับในแระเทศไทย เพียงแค่ใช้หม้อแปลง แปลงแรงดัน ให้เท่ากับที่เครื่องต้องการเท่านั้น ส่วนความเร็วรอบเครื่องจะปรับความเร็วให้เองโดยที่ไม่ต้องปรับแต่งอะไรเลย แต่ข้อเสีย ก็มักจะถูกวิจารณ์ในเรื่องของความคงที่ของรอบ ซึ่งระบบไดเรคไดรฟ์ที่พยายยามจะรักษารอบให้คงที่เอง ทำให้เกิดการขยับขึ้นลงของรอบอยู่ตลอดเวลา (แน่นอนว่าคนฟังทั่วไปฟังไม่ออก) 


มอเตอร์ไดเรคไดรฟ์ ซึ่งอยู่ใต้แพลทเตอร์



เครื่องเล่นเสียงรุ่นยอดนิยมซึ่งใช้ในงาน DJ มักใช้ระบบ Direct Drive เนื่องจากสามารถปรับความเร็วให้เร็ว ช้า ได้ เดินหน้า ถอยหลังได้ 




1 ความคิดเห็น: